เมนู

อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15


[789] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ภัยเกิดแต่อาชญาของ
ตน ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน เราจักแสดง
ความสังเวชตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว.


ว่าด้วยภัย 2 เกิดจากอาชญา 3 อย่าง


[790] ชื่อว่า อาชญา ในคำว่า ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ได้แก่
อาชญา 3 อย่าง คือ อาชญาทางกาย 1 อาชญาทางวาจา 1 อาชญาทางใจ 1
กายทุจริต 3 ชื่อว่าอาชญาทางกาย วจีทุจริต 4 ชื่อว่าอาชญาทางวาจา
มโนทุจริต 3 ชื่อว่าอาชญาทางใจ. ชื่อว่าภัย คือ ภัย 2 อย่าง ได้แก่
ภัยมีในชาตินี้ 1 ภัยมีในชาติหน้า 1.
ภัยมีในชาตินี้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต
ด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ฆ่าสัตว์บ้าง
ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นทุกหลังคาเรือนบ้าง ปล้นเฉพาะเรือน
หลังเดียวบ้าง ดักแย่งชิงอยู่ที่หนทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาแห่งชาย
อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับคนผู้นั้นได้แล้ว ทูลแด่พระราชาว่า
ขอเดชะ บุรุษผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว พระองค์จงลงอาชญาที่ทรง
พระประสงค์แก่บุรุษนี้เถิด พระราชากทรงตวาดบริภาษคนผู้นั้น คนนั้น
ของเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุที่ถูกบริภาษ ทุกข์โทมนัสนั้นเป็นภัย
ของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ
ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัย แม้ด้วยการบริภาษ
เท่านี้ ย่อมรับสั่งให้จองจำคนนั้นด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคาบ้าง ด้วยเครื่อง

จองจำคือเชือกบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง ด้วยเครื่องจองจำ
คือหวายบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือการ
ควบคุมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเครื่องล้อมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือ
บ้านบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือนครบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือแว่นแคว้นบ้าง
ด้วยเครื่องจองจำคือชนบทบ้าง โดยที่สุดทรงบังคับว่า มันจะหนีจาก
ถามที่จองจำนี้ไปไม่ได้ คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุการ
จองจำนั้น ภัยทุกข์โทมนัสของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม
บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.
พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยการจองจำนั้น ย่อมรับสั่งให้
ริบทรัพย์ของคนนั้นร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง แสนหนึ่งบ้าง คนนั้น
ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งความเสื่อมทรัพย์ ทุกข์โทมนัส
นั้นเป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วย
การริบทรัพย์เท่านั้น ย่อมรับสั่งให้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ กะคนนั้น คือ
ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ดีด้วยไม้พลองบ้าง ให้
ตัดมือบ้าง ให้ตัดเท้าบ้าง ให้ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ให้ตัดใบหูบ้าง ให้ตัด
จมูกบ้าง ให้ตัดทั้งใบหูทั้งจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง
ถลกหนังศีรษะออกแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง ใส่ไฟลุกโพลงเข้าไป
ในปากจนโลหิตไหลออกเต็มปากเหมือนปากราหูบ้าง พันตัวด้วยผ้า
ชุบน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็นบ้าง พันมือด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟให้ลุก
เหมือนประทีปบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงข้อเท้าลากให้เดินเหยียบ
หนังนั้นจนล้มลงบ้าง ถลกหนึ่งตั้งแต่คอลงมาถึงบั้นเอวทำให้เป็นดังนุ่งผ้า

คากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าทั้งหมดแล้วเสียบหลาวเหล็ก
4 ทิศตั้งไว้เผาไฟบ้าง เอาเบ็ดเกี่ยวหนังเนื้อเอ็นออกมาบ้าง เอามีดเฉือน
เนื้อออกเป็นแว่น ๆ ดังเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือ
แต่กระดูกบ้าง แทงหลาวเหล็กที่ช่องหูจนทะลุถึงกันเสียบติดดินแล้วจับ
หมุนไปโดยรอบบ้าง ทุบให้กระดูกละเอียดแล้วถลกหนังออกเหลือแต่กอง
เนื้อดังตั่งใบไม้บ้าง เอาน้ำมันเดือดพล่านรดตัวบ้าง ให้สุนัขกัดกินทั้งเป็น
จนเหลือแต่กระดูกบ้าง เสียบหลาวยกขึ้นนอนหงายทั้งเป็นบ้าง เอาดาบ
ตัดศีรษะบ้าง คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งกรรมกรณ์
ภัยทุกข์โทมนัสนั้นของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.
พระราชาเป็นใหญ่ในอาชญา 4 อย่างเหล่านี้ คนนั้นเมื่อตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมของตน พวกนาย
นิรยบาลย่อมให้ทำกรรมกรณ์อันมีเครื่องจองจำ 5 กะสัตว์นั้น คือ (ให้สัตว์
นั้นนอนหงายแล้ว) เอาหลาวเหล็กแดงตรึงไว้ที่มือขวา 1 ที่มือซ้าย 1
ที่เท้าขวา 1 ที่เท้าซ้าย 1 ที่ท่ามกลางอก 1 สัตว์นั้นได้เสวยทุกขเวทนา
แสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยัง
ไม่สิ้น ภัยทุกข์และโทมนัสนั้นของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิด
พร้อม บังเกิด เกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.
พวกนายนิรยบาลให้สัตว์นั้นนอนลงแล้วเอาผึ่งถาก สัตว์นั้นได้
เสวยทุกขเวทนาแสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่
บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบนเอา
หัวห้อยลงข้างล่างแล้วเอามีดถาก เทียมสัตว์นั้นเข้าที่รถแล้ว ให้วิ่งไปข้าง

หน้าบ้าง ให้วิ่งกลับมาข้างหลังบ้าง บนแผ่นดินที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุก
โพลง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลไล่ต้อนให้สัตว์นั้นขึ้นบนภูเขาถ่านเพลิง
ใหญ่ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลงบ้าง ไล่ต้อนให้ลงจากภูเขานั้นบ้าง ฯลฯ
พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบน เอาหัวห้อยลงข้างล่าง
แล้วเหวี่ยงลงไปในหม้อเหล็กอันร้อน ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลง สัตว์นั้น
เดือดพล่านอยู่ในหม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด เมื่อเดือดพล่านอยู่ใน
หม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด บางครั้งก็เดือดพล่านไปข้างบน บางครั้ง
ก็เดือดพล่าไปข้างล่าง บางครั้งก็เดือดพล่านไปทางขวาง สัตว์นั้นได้
เสวยทุกขเวทนา แสบร้อนร้ายแรงอยู่ในหม้อเหล็กนั้น แต่ยังไม่ตาย
ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น ภัย ทุกข์และโทมนัสของสัตว์นั้นเกิด
แต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่
อาชญาของตน. พวกนายนิรยบาลโยนสัตว์นั้นลงไปในมหานรก

ว่าด้วยมหานรก


ก็แหละมหานรกนั้น มีมุมสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตู
สี่ช่อง ซึ่งจำแนกนับออกโดยส่วน มีกำแพงเหล็กล้อม-
รอบ มีแผ่นเหล็กครอบไว้ มหานรกนั้นมีภาคพื้นสำเร็จ
ด้วยเหล็ก มีเปลวไฟรุ่งโรจน์ ประกอบด้วยไฟร้อน แผ่ไป
ร้อยโยชน์โดยรอบตั้งอยู่ตลอดกาลทั้งปวง มหานรกอัน
เป็นที่น่าสยดสยองเผาผลาญสัตว์ให้มีทุกข์ร้ายแรง มี
เปลวไฟ แสนยากที่จะเข้าใกล้ น่าขนลุกขนพอง น่า
กลัว ให้เกิดภัย ให้เกิดทุกข์ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝา